อิยิปต์เมืองสุรินทร์

Last updated: 5 Mar 2021  |  5022 Views  | 

อิยิปต์เมืองสุรินทร์

ShutterGolf พาเที่ยว "Elephant World" หรือ "โลกของช้าง .. อียิปต์เมืองสุรินทร์" ShutterGolf ถ่ายภาพมาโชว์แต่สถาปัตยกรรมล้วน ๆ (มีคนบ้างเพื่อเป็น Scale) ทั้งที่เป็นอาคารลานแสดงช้าง อาคารพิพิธภัณฑ์ และหอชมทิวทัศน์

สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านช้างตากลาง จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชาวกูย ผู้ชำนาญในการฝึกและเลี้ยงช้างนั่นเอง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การรุกล้ำป่ามีมากขึ้น ช้างไม่มีที่อยู่อาศัยและหากิน จึงพบเห็นควาญช้างนำช้างออกมาเร่ร่อนหากินกลางกรุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์จัดทำโครงการศูนย์คชศึกษาขึ้นที่บ้านตากลาง เพื่อเป็นการนำร่องในโครงการนำช้างคืนถิ่น ร่วมกับองค์การสวนสัตว์ และอีกหลายหน่วยงานที่ช่วยกันแก้ปัญหาช้างแะควาญช้างเร่ร่อนให้ค่อย ๆ หมดไป เมื่อคิดได้อย่างนี้ จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น เมื่อช้างได้กลับบ้าน ก็ต้องสร้างรายได้ให้กับชุมชน ควาญช้างและช้างต่อไป จึงสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น เพื่อหวังให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการท่องเที่ยวนั่นเอง

จุดสำคัญ คือ พิพิธภัณฑ์ช้างที่โดยสร้างโดยอิฐเผาสีแดงกว่า 480,000 ก้อน โดยให้มีขนาดใหญ่และกว้างเพียงพอที่ช้างจะมาเดินเล่นหรือแสดงในอาคารนี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบโดยคำนึงถึงอากาศ ลม และเสียงภายในพิพิธภัณฑ์ ด้วยการใช้หลักการตามงานวิจัยภาษาเสียง หรือ Sound Brick ทำให้เกิดความแตกต่างของเสียงในแต่ละพื้นที่ และมีต้นไม้ระหว่างทางเดินช่วยให้ร่มเงาและซับการสะท้อนของเสียงอีกแรง












ในส่วนของลานวัฒนธรรมนั้น จะอยู่แยกส่วนออกไป โดยสัดส่วนของลานนี้โอ่โถงมาก เพราะนำ Scale ของช้างมาเป็นตัวตั้ง ทำให้มีพื้นที่กว้างขวางมาก อ.บุญเสริม ผู้ซึ่งเป็นสถาปนิกเลือกที่จะปรับรูปทรงหลังคาจั่วของบ้านชาวกูยดั้งเดิม มาขยายขนาดให้ครอบคลุมพื้นที่ 70 x 100 เมตร แล้วคว้านเอาหลังคาส่วนที่อยู่เหนือลานการแสดงออก ให้คงเหลือเฉพาะหลังคาโดยรอบไว้กันแดดกันฝนให้ผู้ชม การเจาะช่องบนผืนหลังคาตามจุดต่างๆ โดยรอบเพื่อเป็นพื้นที่ให้ต้นยางนาที่เพิ่งเริ่มปลูกสามารถเติบโตทะลุช่องเหล่านี้ เพื่อสร้างร่มเงาให้แก่อาคารในอนาคต สำหรับภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ของอัฒจรรย์รอบลานแสดงก็จงใจออกแบบให้มีลักษณะเหมือนเนินในภาคอีสาน โดยดินที่ใช้เสริมพื้นที่ก็เป็นดินลูกรังจากการขุดบ่อเก็บน้ำ เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับช้างในพื้นที่ ส่วนหินสีดำที่ใช้ปูทับโดยรอบอัฒจรรย์เป็นหินบะซอลต์ ซึ่งพบเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้งยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากช้างไปในตัว เพราะหินบะซอลต์มีลักษณะหยาบ ทำให้ช้างซึ่งมีเท้าเป็นหนังอ่อนไม่สามารถเดินขึ้นไปยังบริเวณที่นั่งของคนดูได้





#ท่องเที่ยวเมืองสุรินทร์2021 #ท่องเที่ยวสุรินทร์2564 #พิพิธภัณฑ์ช้าง #ElephantWorld #ShutterGolf #FullFrame #DSLR #NiKON #อาจารย์บุญเสริม #ถ่ายรูปสถาปัตยกรรม #ArchitecturePhotographer #ArchitecturePhotography #หมู่บ้านช้าง #อิฐแดง

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy